จักรวรรดิแอซเท็ก
แอซเท็ก (อังกฤษ: Aztec Empire) เป็นคำที่หมายถึงกลุ่มชาติพันธ์ในทางตอนกลางของเม็กซิโกโดยเฉพาะกลุ่มที่พูดภาษานาวาตล์ (Nahuatl) ผู้มีอำนาจทางการเมืองและทางการทหารในบริเวณเมโสอเมริกา ในคริสต์ศตวรรษที่ 14, 15 และ 16 ในสมัยที่เรียกว่าปลายยุคคลาสสิกตอนหลังในลำดับเหตุการณ์ในเมโสอเมริกา (Mesoamerican chronology)
ส่วนใหญ่แล้ว “แอซเท็ก” มักจะหมายถึงเฉพาะชาวเตนอชตีตลัน (Tenochtitlan) ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนเกาะในทะเลสาบเท็กซ์โคโคที่เรียกตนเองว่า “เม็กซิกาเทน็อคคา” หรือ “โคลฮูอาเม็กซิกาเทน็อคคา”
บางครั้งคำนี้ก็รวมทั้งผู้ที่พำนักอาศัยของเตนอชตีตลันในนครรัฐพันธมิตรอีกสองเมือง Acolhua แห่ง เตซโกโก และ เทพาเน็คแห่งทลาโคพานที่รวมกันเป็นสามพันธมิตรแอซเท็ก (Aztec Triple Alliance) หรือที่เรียกกันว่า “จักรวรรดิแอซเท็ก”
กลุ่มกองกิสตาดอร์ หรือนักสำรวจดินแดนชาวสเปนนำโดย เอร์นัน กอร์เตส เข้ารุกรานและยึดครองจักรวรรดิแอซเท็ก จนกระทั่งล่มสลายในปี ค.ศ. 1521
อารยธรรม Aztec ที่สาบสูญ
(ผู้เขียน : ศ. ดร.สุทัศน์ ยกส้าน ภาคีสมาชิก สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน)
Hernando Cortes คือนายพลชาวสเปนผู้พิชิตเม็กซิโก และทำลายอาณาจักร Aztec ในเม็กซิโกเมื่อประมาณ ๔๘๐ ปีก่อนนี้ เขาเกิดที่เมือง Medellin ในประเทศสเปน เมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๘ ในวัยหนุ่มเขาได้เดินทางออกจากบ้านเกิดไปศึกษาวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัย Salamanca จนสำเร็จ และได้ไปทำงานที่ West Indies เป็นทหารภายใต้การนำของจอมทัพ Diego Velasquez แห่งสเปน ในขณะที่มีอายุได้เพียง ๒๗ ปี และเมื่อ Velasquez ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการของสเปนในคิวบา เขาได้มีคำสั่งให้ Cortes นำทหารบุกแหลม Yucatan ของเม็กซิโก เพราะได้มีรายงานการพบมหาสมบัติมากมายในดินแดนนั้น แต่เมื่อ Velasquez ล่วงรู้ว่า Cortes เป็นคนที่ทะเยอทะยานใฝ่สูง เขาจึงได้ยกเลิกคำสั่งทันที แต่กองทัพเรือของ Cortes ก็ได้ออกเดินทางไปเรียบร้อยแล้ว
Hernando Cortes คือนายพลชาวสเปนผู้พิชิตเม็กซิโก และทำลายอาณาจักร Aztec ในเม็กซิโกเมื่อประมาณ ๔๘๐ ปีก่อนนี้ เขาเกิดที่เมือง Medellin ในประเทศสเปน เมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๘ ในวัยหนุ่มเขาได้เดินทางออกจากบ้านเกิดไปศึกษาวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัย Salamanca จนสำเร็จ และได้ไปทำงานที่ West Indies เป็นทหารภายใต้การนำของจอมทัพ Diego Velasquez แห่งสเปน ในขณะที่มีอายุได้เพียง ๒๗ ปี และเมื่อ Velasquez ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการของสเปนในคิวบา เขาได้มีคำสั่งให้ Cortes นำทหารบุกแหลม Yucatan ของเม็กซิโก เพราะได้มีรายงานการพบมหาสมบัติมากมายในดินแดนนั้น แต่เมื่อ Velasquez ล่วงรู้ว่า Cortes เป็นคนที่ทะเยอทะยานใฝ่สูง เขาจึงได้ยกเลิกคำสั่งทันที แต่กองทัพเรือของ Cortes ก็ได้ออกเดินทางไปเรียบร้อยแล้ว
กองทัพของ Cortes ซึ่งประกอบด้วยเรือและกะลาสี ๑๑๐ คน ทหาร ๕๕๓ คน ปืนใหญ่ ๑๔ กระบอก และม้า ๑๖ ตัว เดินทางถึง Yucatan ในเดือนเมษายนของ พ.ศ. ๒๐๖๒ ในการทำสงครามครั้งนั้น Cortes ได้สืบรู้ล่วงหน้าว่าประเทศเม็กซิโกในขณะนั้นกำลังถูกชนเผ่า Aztec ปกครอง และเป็นอาณาจักรที่มีอัญมณีมีค่ามากมาย เขาจึงตัดสินใจล้มล้างอาณาจักร Aztec ทันที โดยได้ออกคำสั่งให้ทหารเผาเรือทุกลำ และเมื่อไม่มีเรือจะโดยสารกลับสเปนทหารของ Cortes ก็ไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากจะต้องเดินหน้าฆ่า Aztec ทุกคนหรือมิฉะนั้นก็จะถูก Aztec ฆ่าตาย
ด้วยกำลังและเทคโนโลยีที่เหนือกว่า กองทัพ Cortes ยึดเมือง Tabasco ได้อย่างง่ายดาย และเมื่อเขาปราบกองทัพของอินเดียนเผ่า Tlaxcalan ได้แล้ว เขาก็ได้เกลี้ยกล่อมให้คนเผ่านี้ (ซึ่งเป็นศัตรูคู่อาฆาตของชนเผ่า Aztec) มาเป็นพวกเดียวกับเขาในการต่อสู้กับ Aztec ต่อไป
จากนั้นกองทัพของ Cortes ได้เดินทางต่อถึงเมือง Tenochtitlan อันเป็นเมืองหลวงของอาณาจักร Aztec เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๐๖๒ จักรพรรดิ Montezuma ที่ ๒ และพสกนิกรไม่เคยเห็นมาก่อนในชีวิต พระองค์จึงทรงคิดว่า Cortes คือเทพเจ้า Quetzaleoatl ที่สวรรค์ทรงส่งมาช่วยอาณาจักร Aztec ให้เป็นสุข พระองค์จึงทรงนำทองคำ ผ้าฝ้าย และอัญมณีมีค่ามากมายมามอบให้ Cortes ความโลภและความกระหายอำนาจได้ทำให้ Cortes จับองค์จักรพรรดิเป็นเชลย และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นเจ้าปกครองอาณาจักร Aztec ทันที
ในเวลาต่อมา Cortes ได้ข่าวว่า นายพล Velasquez ส่งกองทัพมาตาม Cortes จึงได้ออกไปพบกับนายทัพที่ถูกส่งมาที่เมือง Vesacruz โดยได้ทิ้งเมือง Tenochtitlan ให้นายทหารคนสนิทปกครอง เมื่อ Cortes ไม่อยู่ อินเดียนชนเผ่า Aztec โดยองค์จักรพรรดิ Montezuma ที่ ๒ ถูกราษฎรสำเร็จโทษด้วยก้อนหิน Cortes จึงได้รวบรวมกองทัพกลับมาพิชิต Tenochtitlan อีก จนสำเร็จในวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๐๖๔ และได้ตั้งตัวเป็นผู้สำเร็จราชการของสเปนครอบครองอาณาจักร Aztec ทันที
นักประวัติศาสตร์ได้สรุปสาเหตุสำคัญที่ทำให้ Cortes มีชัยชนะเหนืออาณาจักร Aztec ทั้ง ๆ ที่มีกำลังน้อยนิด (๕๐๐ คน) ก็สามารถพิชิตอาณาจักรที่มีกำลังคนถึง ๕ ล้านได้ ว่ามาจากสาเหตุ ๒ ประการคือ ความสามารถด้านการทูตของ Cortes ในการเกลี้ยกล่อมอินเดียนเผ่าอื่น ๆ ให้มารวมใจสู้ชนเผ่า Aztec ได้สำเร็จ และสาเหตุที่สองคือ ความเชื่อที่ว่า Cortes คือเทพเจ้า เพราะในตำนานของ Aztec นั้น มีเทพเจ้าองค์หนึ่งชื่อ Quetzaleoatl มีผิวขาว เครายาวและสูง ซึ่งได้สัญญากับบรรพบุรุษของเผ่าว่า วันหนึ่งจะเดินทางกลับมาหาชนเผ่านี้อีก ดังนั้น เมื่อชนเผ่านี้ได้เห็น Cortes มีรูปลักษณ์ตรงตามคำทำนาย จึงไม่คิดจะสู้เลย
ในการปกครองอาณาจักร Aztec นายพล Cortes ได้เปลี่ยนภาษา ศาสนาและอารยธรรมต่าง ๆ ของชนอินเดียนใหม่ แต่ถูกชนอินเดียนต่อต้านและเมื่อนายทหารใต้บังคับบัญชาของ Cortes ไม่เชื่อฟังคำบังคับบัญชา Cortes จึงถูกพระเจ้า Charles ที่ ๕ แห่งสเปนทรงเรียกตัวกลับสเปน ใน พ.ศ. ๒๐๗๒ และถูกสั่งไม่ให้หวนกลับไปเม็กซิโกอีกจนกระทั่งเสียชีวิตที่ Castilleha de la Cuesta ใกล้เมือง Seville ในประเทศสเปน เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๐๙๐ ขณะที่มีอายุได้ ๖๒ ปี
เมื่อ Cortes และกองทัพล่าอาณานิคมพิชิตอาณาจักร Aztec ได้สำเร็จ เขาได้พบว่าชนเผ่านี้มีอารยธรรมที่น่าสนใจมาก เช่น อารยธรรมในการสื่อสาร ซึ่งใช้วิธีวาดรูปภาพลงบนหนังกวาง หรือเปลือกไม้ และเนื้อหาที่บันทึกก็มักจะเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนา จะอย่างไรก็ตาม หนังสือภาพ (Codex) เหล่านี้หลายเล่ม ถูกนักบวช Aztec เผาทำลายไปจนหมดในขณะที่อาณาจักร Aztec กำลังล่มสลายนั่นเอง พออีก ๒ ทศวรรษต่อมา พระนักบวชชาวสเปนที่ได้ไปเทศนาสั่งสอนอยู่ที่นั่นก็ได้ว่าจ้างให้ศิลปินชาว Aztec บันทึกข้อมูลของอารยธรรมที่กำลังจะสาบสูญอีกครั้งหนึ่ง
ในบรรดาหนังสือภาพ (Codex) ที่ถูกเขียนขึ้นทั้งหมด ไม่มีหนังสือภาพใดสวยและอุดมด้วยเนื้อหาดีเท่าหนังสือภาพที่ชื่อ Codex Mendoza ซึ่งผู้สำเร็จราชการชาวสเปนชื่อ Antonio de Mendoza ได้สั่งให้ทำขึ้นเพื่อถวายแด่พระเจ้า Charles ที่ ๕ แห่งสเปน
หนังสือภาพนี้ประกอบด้วยแผ่นพับ ๗๑ ชุด และมีภาพซึ่งถูกวาดโดยศิลปิน Aztec ที่มีชื่อเสียง ภาพได้รวบรวมความรู้ของชน Aztec ในสมัยนั้นไว้ได้พอสมควร แต่เนื่องจากศิลปินถูกบังคับให้รีบวาด เพราะเรือที่จะนำหนังสือไปถวายพระเจ้า Charles ที่ ๕ ต้องรีบออกเดินทางก่อนที่ฤดูลมเฮอริเคนจะมาถึง แต่ Codex Mendoza ก็ไม่ได้ถึงพระหัตถ์ของพระเจ้า Charles ที่ ๕ แต่ประการใด เพราะเรือสเปนที่นำหนังสือได้ถูกกองทัพเรือฝรั่งเศสยึดไว้ ดังนั้น หนังสือภาพจึงตกอยู่ในอุ้งมือของ Andus Thevet แห่งราชสำนักของพระเจ้า Henri ที่ ๒ ของฝรั่งเศส
และหลังจากที่ Thevet ถึงแก่กรรม Codex Mendoza ก็ได้ถูกนำไปขายต่อและเปลี่ยนเจ้าของหลายคน จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๘๓ J.C. Clark ได้พิมพ์หนังสือเล่มนี้ออกเผยแพร่ และได้สร้างความฮือฮาให้แก่วงการโบราณคดีมาก เพราะ Codex Mendoza ได้กล่าวถึงวิถีชีวิตของชาว Aztec ตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ และความเป็นมาของชนเผ่าต่าง ๆ ในอาณาจักร รวมทั้งการสถาปนา Tenochtitlan เป็นนครหลวงใน พ.ศ. ๑๘๖๘ ด้วย จึงทำให้เรารู้ว่าภายในเวลาเพียง ๒๐๐ ปีมหานครแห่งนี้ก็ได้มีประชากรถึง ๒๐๐,๐๐๐ คน
ในบทสุดท้ายของ Codex Mendoza ได้มีการกล่าวถึงวัฏจักรชีวิตของชาว Aztec ทั้งที่มีคุณค่าและไม่มีค่าใด ๆ เช่น คนที่ทำงานหนัก ชีวิตในบั้นปลายก็จะสุขสบาย ส่วนคนขี้เมาหรือขโมยก็จะถูกชาวเมืองอื่น ๆ เหยียดหยามและลงโทษ เป็นต้น
Codex Mendoza ยังได้บันทึกอีกว่าชนชาว Aztec นิยมเล่นเกม Chaah ซึ่งประกอบด้วยลูกบอลที่ยืดหยุ่นมาก เพราะเวลาลูกบอลกระทบพื้น มันจะกระดอนขึ้นสูงอย่างแทบไม่น่าเชื่อ Pedro Martyr นักประวัติศาสตร์แห่งราชสำนักของสเปนซึ่งได้เดินทางถึง Tenochtitlan ใน พ.ศ. ๒๐๗๓ ได้บันทึกเพิ่มเติมว่า ชาว Aztec ผลิตลูกบอลนี้ โดยใช้น้ำยางจากต้นไม้พื้นเมืองชนิดหนึ่ง ผสมกับน้ำหวานที่ได้จากไม้เลื้อยพันธุ์พื้นเมืองเช่นกัน
นี่คือข้อมูลเท่าที่มี ดังนั้น สูตรการทำลูกบอลยางจึงเป็นสูตรที่ได้ถูกปกปิดกันมานานร่วม ๕๐๐ ปี
มาบัดนี้ F. Bates แห่งมหาวิทยาลัย Mennesola ที่เมือง Minneapolis ในสหรัฐอเมริกาได้เปิดเผยสูตรดังกล่าวในวารสาร Science ฉบับเร็ว ๆ นี้ว่า ชนเผ่า Aztec ใช้เทคโนโลยีชีวภาพทำลูกบอลสำหรับเล่มเกม Chaah ที่มีคนดูนับพัน โดยใช้ยางจากเปลือกของต้น Castilla Elastica มาผสมกับน้ำที่คั้นได้จากต้น Morning Glory เพราะเขาได้พบว่า ภายในเวลาเพียง ๑๐ นาที เท่านั้นเอง ยางเหนียวของต้นไม้ดังกล่าวจะตกตะกอนและจับตัวแข็งเป็นลูกบอล
การล่วงรู้สูตรที่ชาว Aztec ใช้ในการทำบอลครั้งนี้ ทำให้เรารู้ว่าชน Aztec เมื่อ ๕๐๐ ปีก่อน มีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของต้นไม้ดีถึงระดับที่สามารถนำไปใช้ในการผลิตเป็นอุตสาหกรรมได้ เพราะประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่า ในสมัยนั้นเจ้าเมืองต่าง ๆ ที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอีกเจ้าเมืองหนึ่ง ต้องส่งส่วยเป็นลูกบอลยางลักษณะนี้ถึง ๑๖,๐๐๐ ลูก เพื่อใช้ในพิธีทางศาสนา และการละเล่นต่าง ๆ
